วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศิลปนิพนธ์

หัวข้อ

กระบวนการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์กรณีศึกษา ชุด หนังสื่อท่องเที่ยวเช้าไป-เย็นกลับของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ตัวแปรต้น : หนังสื่อท่องเที่ยวเช้าไป-เย็นกลับของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตัวแปรตาม : กระบวนการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
ประชากร : หนังสื่อท่องเที่ยวเช้าไป-เย็นกลับของการรถไฟแห่งประเทศไทย
บริบท : การรถไฟแห่งประเทศไทย
ช่วงเวลา : ประชาสัมพันธ์

การศึกษาหาความหมาย ของ สื่อสิ่งพิมพ์


คำว่า “พิมพ์” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “print” ซึ่งหมายความถึง การผลิตข้อความและภาพโดยใช้ตัวพิมพ์ แม่พิมพ์ หรือ แบบพิมพ์ ซึ่งถูกทาหรือฉาบด้วยหมึกแล้วกดทับลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่น กระดาษ ผ้า ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 คือ

      1) การใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพให้ติดลงบนวัตถุ เช่น กระดาษ ผ้า 
      2) การทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นมาหลายสำเนา
  

      ส่วนคำว่า “การพิมพ์” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “printing” ซึ่งหมายความถึง การผลิตสำเนาข้อความและภาพลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่นกระดาษ ผ้า ตามความหมายในพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 คือ การทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกด หรือ การใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดให้เกิดเป็นสื่อพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา
 
วิวัฒนาการของการพิมพ์
      วิวัฒนาการการพิมพ์เริ่มจากยุคโบราณเมื่อมนุษย์รู้จักการสื่อสารกันด้วยการ วาดภาพ การเขียนสัญลักษณ์เป็นรูป ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นตัวอักษรภาพ แล้วจึงเป็นตัวอักษร การพิมพ์ได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศจีน ได้มีการสร้างแม่พิมพ์โดยแกะสลักตัวอักษรหรือภาพลงบนท่อนไม้ ก้อนหิน งาช้าง หรือกระดูกสัตว์ แล้วนำแม่พิมพ์ที่ได้ไปกดลงดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือครั่ ปรากฏเป็นตัวอักษรหรือภาพตามแม่พิมพ์ เมื่อมีการคิดค้นทำกระดาษขึ้น การพิมพ์ก็ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ

      วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นนูน (Relief Printing) ประมาณปี ค.ศ. 170 ชาวจีนได้มีการคัดลอกตำราและรูปโดยแกะสลักตัวอักษรและรูปบนแผ่นหินให้ส่วน ที่เป็นตัวอักษรหรือลายเส้นนูนขึ้น แล้วนำเอากระดาษมาทาบ ใช้ถ่านมาถูจนเกิดภาพตัวอักษรบนกระดาษ ประมาณปี ค.ศ. 400 ชาวจีนชื่อ ไหว่ตัง ได้คิดค้นทำหมึกได้สำเร็จ จึงมีการนำตราประทับซึ่งทำโดยการนำเอาก้อนไม้หรือก้อนหินมาแกะทำเป็นแม่ พิมพ์ จุ่มหมึกแล้วประทับบนกระดาษและวัสดุอื่น ๆ  จากการทำตราประทับเล็ก ๆ ได้มีการทำแม่พิมพ์ที่ใหญ่ขึ้นมีข้อความและภาพมากขึ้น สามารถนำแม่พิมพ์ดังกล่าวมาจุ่มหมึกทำสำเนาบนวัสดุใช้พิมพ์ต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมาก ๆ การพิมพ์ลักษณะนี้เรียกว่าการพิมพ์บล็อกไม้ (Wood Block Printing)   ต่อมาในปี ค.ศ. 1040 มีชาวจีนชื่อ ไป่เช็ง ได้คิดค้นแกะตัวอักษรบนแท่งดินเหนียวเป็นตัว ๆ ทำให้แข็งโดยการผึ่งแดดแล้วนำไปเผา เมื่อต้องการใช้ก็นำแท่งดินเหนียวที่มีตัวอักษรที่เกี่ยวข้องมาเรียงเป็นข้อ ความที่ต้องการ แล้วใช้เป็นแม่พิมพ์สำหรับพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1400 ชาวเกาหลีได้คิดค้นประดิษฐ์ตัวพิมพ์ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกได้ สำเร็จ ทำให้ตัวพิมพ์มีความแข็งแรงมากขึ้น

      ทางด้านยุโรป ในปี ค.ศ. 1455 นายโยฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ได้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์โลหะผสมได้สำเร็จเช่นกัน นายกูเตนเบิร์กยังได้พัฒนาเครื่องพิมพ์ หมึกพิมพ์ กระดาษที่ใช้พิมพ์ และกรรมวิธีในการพิมพ์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการพิมพ์”  การพิมพ์พื้นนูนที่เรียกเล็ตเตอร์เพรสส์ (Letter Press) นี้จึงเป็นที่นิยมกันมากขึ้น มีการตั้งโรงพิมพ์ขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ และเผยแพร่สู่ประเทศอเมริกา เนื่องจากการเรียงพิมพ์ด้วยมือต้องใช้แรงงานและใช้เวลามาก จึงมีการคิดค้นใช้เครื่องเรียงตัวอักษร (Linecast Typesetting) ซึ่งใช้ความร้อนหล่อตัวพิมพ์ จึงเรียก “ตัวพิมพ์แบบร้อน” (Hot Type) ที่มีชื่อเสียงคือ เครื่องเรียงไลโนไทป์ (Linotype) ซึ่งจะทำการเรียงทีละบรรทัด นิยมใช้ในงานทำแม่พิมพ์หนังสือพิมพ์  และเครื่องเรียงโมโนไทป์ (Monotype) ซึ่งเป็นเครื่องที่เรียงออกมาเป็นตัวต่อกันเป็นบรรทัด นิยมใช้ในงานทำแม่พิมพ์หนังสือ ใน ค.ศ. 1898 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องเรียงพิมพ์ด้วยแสงขึ้น (Phototypesetting) ใช้สร้างตัวพิมพ์แบบ “ตัวพิมพ์แบบเย็น” (Cold Type) นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแม่พิมพ์พื้นนูนแบบแผ่นด้วยการใช้วิธีฉายแสงโดยใช้ น้ำยาไวแสงฉาบลงบนแผ่นโลหะที่ใช้เป็นแม่พิมพ์ ทำให้การทำแม่พิมพ์สะดวกขึ้น

      วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นลึก (Recess Printing) ลักษณะการพิมพ์พื้นลึกจะต่างกับการพิมพ์พื้นนูนตรงที่ส่วนที่เป็นภาพที่ต้อง การให้ปรากฏหมึกพิมพ์จะเป็นร่องลึกลงไปในแม่พิมพ์เพื่อขังหมึกไว้ส่งผ่านให้ วัสดุใช้พิมพ์ต่อไป ชาวจีนเป็นผู้ริเริ่มการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีนี้โดยแกะท่อนไม้เป็นร่องลึกและ ใช้เป็นแม่พิมพ์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ต่อมาชาวอิตาลี ชื่อ มาโช ฟินิเกอรา (Maso Finigura) ได้ใช้แผ่นทองแดงเป็นแม่พิมพ์แทนท่อนไม้แบบของชาวจีน ในยุคนั้นได้มีการใช้พิมพ์ภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์และภาพทางศาสนา และมีการเรียกกรรมวิธีการพิมพ์นี้ว่า การพิมพ์อินทาโย (Intaglio) ในช่วงแรก การทำแม่พิมพ์ใช้วิธีแกะสลักบนแผ่นโลหะ ต่อมาได้ใช้วิธีการเคลือบแผ่นโลหะด้วยสารที่ทนการกัดกร่อนของกรด ใช้เหล็กขูดสารเคลือบบริเวณส่วนที่ต้องการสร้างภาพแล้วใช้กรดกัดจนเกิดเป็น ร่องลึกตามบริเวณที่ถูกขูด จากนั้นก็มีการพัฒนาโดยการกัดแม่พิมพ์โลหะหลุมเล็ก ๆ กระจายตามความเข้มที่ต้องการลงหมึกทำให้เกิดได้ภาพที่มีมิติขึ้น

      ในปี ค.ศ. 1844 นายวิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ ทาลบอท (William Henry Fox Talbot) ได้นำเทคนิคการสร้างภาพผ่านแผ่นสกรีนกระจกมาทำแม่พิมพ์โลหะและเรียกกรรมวิธี นี้ว่า โฟโตกราวัวร์ (Photogravure) การพัฒนาระบบกราวัวร์มีอย่างต่อเนื่องและสามารถประดิษฐ์เครื่องกราวัวร์ ป้อนกระดาษแบบม้วนด้วยความเร็วสูง ซึ่งเรียกว่า โรโตกราวัวร์ (Rotogravure) ในปี ค.ศ. 1880 และต่อมาก็ได้มีการประดิษฐ์เครื่องกราวัวร์แบบป้อนแผ่นขึ้นในปี ค.ศ. 1913 การพิมพ์กราวัวร์ยังคงมีใช้อยู่จนปัจจุบันนี้ เหมาะสำหรับการพิมพ์งานที่มีปริมาณสูง

      วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นราบ (Planographic Printing) การพิมพ์พื้นราบเกิดภายหลังการพิมพ์เล็ทเตอร์เพรสส์และการพิมพ์อินทาโย ในปี ค.ศ. 1798 นายอะลัว เชเนเฟเดอร์ (Alois Senefelder) ชาวโบฮีเมียนได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์หิน (Lithography) ซึ่งเป็นการพิมพ์พื้นราบ โดยทำภาพที่ต้องการรับหมึกบนแม่พิมพ์หินให้เป็นไข แล้วใช้น้ำผสมกาวกระถินลูบบนแม่พิมพ์หินดังกล่าว น้ำที่ผสมกาวกระถินจะไม่เกาะบริเวณไข และเมื่อคลึงหมึกลงบนแม่พิมพ์ หมึกมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันจะไม่เกาะติดบริเวณที่เป็นน้ำแต่จะไปเกาะติด บริเวณที่เป็นไขซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นภาพ เมื่อนำแผ่นกระดาษมาทาบบนแม่พิมพ์ก็จะเกิดภาพบนกระดาษนั้นและให้ภาพที่คมชัด สวยงามกว่าระบบการพิมพ์อื่นในยุคนั้น

      ในปี ค.ศ. 1905 ชาวอเมริกันชื่อนายไอรา วอชิงตัน รูเบล (Ira Washington Rubel) ได้ค้นพบวิธีทำให้ภาพคมชัดขึ้นโดยบังเอิญ กล่าวคือ แทนที่จะให้กระดาษรับหมึกโดยตรงจากแม่พิมพ์ ก็ให้ผ้ายางเป็นผู้กดทับและรับหมึกจากแม่พิมพ์ก่อน แล้วผ้ายางจึงกดทับถ่ายหมึกที่เป็นภาพพิมพ์ไปยังกระดาษอีกที เนื่องจากผ้ายางมีความนิ่ม การส่งถ่ายหมึกจึงสมบูรณ์ ภาพจึงคมชัดสวยงามยิ่งขึ้น การพิมพ์ที่มีการถ่ายทอดภาพพิมพ์สองครั้งนี้ถูกเรียกว่าการพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing)

       การพิมพ์ระบบออฟเซ็ทมีการพัฒนาในหลายด้าน มีการใช้แม่พิมพ์เป็นแผ่นโลหะ เคลือบสารไวแสงลงบนแม่พิมพ์ ปรับปรุงการสร้างภาพบนแม่พิมพ์ที่มีความละเอียดสูงขึ้น มีการคิดค้นการพิมพ์ออฟเซ็ทแบบไร้น้ำโดยใช้แม่พิมพ์ที่คลือบด้วยซิลิโคนซึ่ง ไม่ถูกกับน้ำมันและส่วนที่เป็นภาพนั้นซิลิโคนจะถูกกัดออกไป อีกทั้งมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้พิมพ์งานเร็วขึ้น แม่นยำขึ้น คุณภาพงานพิมพ์ดีขึ้น พิมพ์สอดสีได้ในการพิมพ์เที่ยวเดียว มีทั้งเครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่นและเครื่องพิมพ์แบบป้อนม้วน เนื่องจากคุณภาพงานพิมพ์ที่ดีและมีความคล่องตัวสูง การพิมพ์ระบบออฟเซ็ทจึงเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายและกว้างขวางจนถึง ปัจจุบัน

      วิวัฒนาการการพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) ในอีกด้านหนึ่งได้มีพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องหลัง จากที่มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ตัวแรกคือ อีนีเอค ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Computer) ในปีค.ศ. 1945 เครื่องพิมพ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ ใช้พิมพ์เฉพาะตัวอักษรโดยไม่ได้เน้นความสวยงาม ประมาณปีค.ศ. 1979 ได้มีการบริษัทหลายบริษัทจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ก็มีการพัฒนาตามมาด้วย เครื่องพิมพ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์หรือพริ้นเตอร์ได้มีการพัฒนาเช่นกัน ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องพริ้นเตอร์โดยใช้หลักการพิมพ์แบบต่าง ๆ เช่น

      การพิมพ์แบบพ่นหมึก/อิงค์เจ็ท (InkJet Printing) ซึ่งใช้หลักการพ่นหยดหมึกเล็ก ๆ จากหัวพ่นไปสร้างเป็นภาพบนวัสดุใช้พิมพ์

      การพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Printing) ซึ่งใช้หลักการควบคุมลำแสงสร้างภาพเป็นประจุไฟฟ้าบนกระบอกโลหะแล้วให้ผงหมึก ไปเกาะบนกระบอกโลหะตามบริเวณที่มีประจุอยู่เกิดเป็นภาพที่ถูกถ่ายทอดไปเกาะ ติดบนวัสดุใช้พิมพ์อีกทีหนึ่ง เครื่องพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตย์ที่ใช้ลำแสงเป็นแสงเลเซอร์จะเรียกว่า เครื่องพิมพ์เลเซอร์ หรือ เลเซอร์พริ้นเตอร์ (Laser Printer)

 
ที่มา : www. supremeprint.net



ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
              - หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน
                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง
              - หนังสือบันเทิงคดี
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้
          สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

              - หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและ
ความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน
             
- วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน
               - จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษา
หาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ
              - สิ่งพิมพ์โฆษณา             
- โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่ม
จำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า
              - ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย              
- แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้น
เป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ
             
- ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ
          สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์

                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง
          สิ่งพิมพ์มีค่า

                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ, บัตรเครดิต, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน, หนังสือเดินทาง, โฉนด เป็นต้น
         สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ

                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตร, บัตรอวยพร, ปฎิทิน,บัตรเชิญ,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น
          สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

                เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น